หากพูดถึงการสร้างบ้าน บางคนอาจนึกถึงแบบบ้าน การตกแต่ง ทำเล ขนาดที่ดิน เรื่องงบประมาณ การขอกู้ธนาคาร แต่ในความเป็นจริงเมื่อคิดจะสร้างบ้านยังมีเรื่องของการติดต่อราชการเพื่อขออนุญาตต่างๆ ก่อนจะลงมือสร้าง โดยเฉพาะการขออนุญาตก่อสร้างในแต่ละพื้นที่ เช่น บ้านในเขตเทศบาลต้องติดต่อฝ่ายโยธาประจำเทศบาลนั้นๆ ซึ่งมีลำดับขั้นตอนและเอกสารสำคัญต้องใช้ประกอบมากมาย หากทำการบ้านดี ศึกษาข้อมูลและเตรียมตัวให้พร้อมไว้ตั้งแต่แรกเริ่ม ก็ไม่ถือเป็นเรื่องยาก
ทำไมต้องขออนุญาตก่อสร้างบ้านบนที่ดินตัวเอง?
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 บัญญัติว่า ผู้ใดจะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ
ดังนั้นบ้านหรืออาคาร ที่จะปลูกสร้างในเขตเทศบาล ต้องได้รับอนุญาตแบบแปลนจากเทศบาลเสียก่อน และจะสร้างเกินกว่าแบบที่ได้รับอนุญาตไม่ได้ เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคง แข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกในการจราจร เพื่อประโยชน์ของผู้อยู่อาศัยในอาคาร
ขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้านในเขตเทศบาล
1. เตรียมเอกสารขออนุญาตให้พร้อม
1.1 กรอกคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอนอาคาร (ข.1)
1.2 เอกสารแสดงสิทธิ์ของที่ดิน ส่วนใหญ่มักจะเป็นโฉนดที่ดินแสดงว่าจะสร้างในที่ดินใด ถ้าผู้ที่จะสร้างบ้านไม่ใช่เจ้าของที่ดินก็ต้องมีหลักฐานการยินยอมให้สร้างในที่ดินนั้น
1.3 แบบก่อสร้าง จำนวน 5 ชุด โดยเป็นแบบที่มีสถาปนิกและวิศวกรรับรอง ในแบบจะต้องมีรายละเอียดผังบริเวณรวม และแบบรายละเอียดของชั้นต่างๆ รวมถึงแบบแสดงรูปด้านทุกด้าน รวมถึงรายละเอียดทั้งหมดของงานสถาปัตยกรรมและงานวิศวกรรม ซึ่งแบบที่ใช้ยื่นขออนุญาตแยกรายละเอียด ดังนี้
แบบสถาปัตยกรรม เป็นแบบที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบของบ้าน รวมถึงวัสดุต่างๆ ที่จะใช้ในการก่อสร้างบ้าน
แบบวิศวกรรมโครงสร้าง เป็นแบบแสดงโครงสร้างทั้งหมดของตัวบ้าน ทั้งคาน เสา และส่วนต่างๆ ที่เป็นงานโครงสร้าง
แบบวิศวกรรมสุขาภิบาล เป็นแบบที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับงานท่อต่างๆ ทั้งท่อน้ำดี ท่อน้ำเสีย และบ่อบำบัด
แบบวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นแบบที่แสดงถึงงานระบบไฟฟ้าทั้งหมดที่ใช้ในบ้าน รวมถึงขนาดของไฟฟ้า และอุปกรณ์ติดตั้งไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านด้วย
แบบอื่นๆ เป็นแบบที่แสดงรายละเอียดอื่นๆ นอกเหนือจากแบบต่างๆ ข้างต้น เช่น แบบงานระบบ และแบบตกแต่งภายใน
รายการคำนวณ ของวิศวกรโครงสร้าง เป็นการแสดงว่าอาคารได้ผ่านการออกแบบโดยวิศวกรแล้ว เพื่อให้มั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยสำหรับก่อสร้างและใช้งานได้
1.4 รายการคำนวณ ของวิศวกรโครงสร้าง เป็นการแสดงว่าอาคารได้ผ่านการออกแบบโดยวิศวกรแล้ว เพื่อให้มั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยสำหรับก่อสร้างและใช้งานได
1.5 เอกสารแสดงการมอบอำนาจให้ดำเนินการแทนในเรื่องการขออนุญาตก่อสร้าง ในกรณีที่เจ้าของไม่ได้มาดำเนินการด้วยตัวเอง
1.6 หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ออกแบบ สถาปนิก และวิศวกร พร้อมสำเนาใบอนุญาต
1.7 สำเนาบัตรประชาชน หรือทะเบียนบ้านเจ้าของอาคาร ในกรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียน
2. ยื่นขออนุญาตก่อสร้างบ้านเทศบาล
นำเอกสารทั้งหมดไปยื่นต่อฝ่ายโยธาในเขตเทศบาลซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ ภายใน 45 วัน ต้องได้รับแจ้งว่าได้รับอนุญาตหรือไม่ ถ้าไม่อนุญาตจะต้องแก้ไขอะไรบ้าง เมื่อแก้ไขเรียบร้อยแล้ว จะมีค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายตารางเมตรละไม่เกิน 4 บาท
3. สำนักงานเขตท้องถิ่นตรวจสอบแบบแปลน
โดยเฉพาะในเขตที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือกฎหมายผังเมืองบ้านหรืออาคาร สิ่งปลูกสร้างทุกประเภทจะต้องได้รับอนุญาตก่อสร้างบ้านก่อน และจะต้องก่อสร้างตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต
ขายบ้านโคราช: ทำอย่างไรเมื่อคิดสร้างบ้านในเขตเทศบาล? อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://homes-realestate.com/